หากพูดถึงแฟลชไดร์ฟ ในปัจจุบันมีผู้ที่ใช้งานแฟลชไดร์ฟเป็นจำนวนมากและเชื่อว่าทุกคนจะต้องมีแฟลชไดร์ฟคู่ใจติดตัวไปทุกที่แน่นอน เนื่องจากแฟลชไดร์ฟนั้นสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บและถ่ายโอนข้อมูลที่เราต้องการได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังมีขนาดเล็กกระทัดรัดง่ายต่อการพกพา แต่เมื่อเราใช้งานแฟลชไดร์ฟของเราไปซักระยะ สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้งานส่วนมากมักต้องประสบพบเจอนั่นคือแฟลชไดร์ฟของเราเกิดใช้งานไม่ได้ขึ้นมาจึงทำให้เกิดคำถามว่าเพราะเหตุใดและมีวิธีแก้ไขอย่างไร บทความนี้เรามีคำตอบให้คุณ
ปัญหาหลักๆที่ทำให้แฟลชไดร์ฟของคุณใช้งานไม่ได้มีอยู่ไม่กี่สาเหตุ วันนี้เราได้รวบรวมปัญหาและวิธีจัดการกับปัญหานั้นได้ด้วยตัวเองง่ายๆ
วิธีการแก้ปัญหา : ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าแฟลชไดร์ฟเราโดนไวรัสจริงหรือไม่
มีวิธีการตรวจสอบดังนี้
1. กด Shift ค้างขณะเสียบแฟลชไดร์ฟประมาณ 10 วินาที > Double Click ที่ My computer

2. คลิกขวาที่แฟลชไดร์ฟถ้าปรากฎคำว่า Open อยู่บนสุด แสดงว่าแฟลชไดร์ฟไม่มีไวรัส แต่ถ้าปรากฎคำว่า Auto Play อยู่บนสุดแสดงว่ามีไวรัส หรือ Double Click
ที่แฟลชไดร์ฟ แล้วปรากฎคำว่า Open with ก็แสดงว่ามีไวรัสอยู่เช่นเดียวกัน

เมื่อเราได้ตรวจสอบแฟลชไดร์ฟแล้วพบว่าแฟลชไดร์ฟนั้นมีไวรัสจริง
วิธีจัดการกำจัดไวรัสมีดังนี้
1.Double Click เพื่อเปิด My computer > Double Click เพื่อเปิด USB Drive > คลิกเลือก Tools
2.คลิกเลือก Folder Options > เลือก View > คลิกเลือก Show hidden files and folders
3.คลิกที่ปุ่ม Hide extensions for known file types เพื่อทำการเลือกออก
4.คลิกที่ปุ่ม Hide protected operating system files เพื่อทำการเลือกออก กด Apply แล้วกด OK (จะปรากฎ Folder เป็นเงา ๆขึ้น (นั่นคือไวรัส))
5.คลิกเลือก Recycled system Volume information Autorlin.inf msvcr71.dll
(Folder ไวรัสจะปรากฎขึ้น) > กด Delete เพื่อฆ่าไวรัส > ตรวจสอบอีกครั้งว่าไวรัสหายไปหรือไม่
หมายเหตุ – ก่อนที่เราจะเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟกับคอมพิวเตอร์ เราควรตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์นั้นมีโปรแกรมป้องกันไวรัสหรือไม่ และต้องสแกนไวรัสก่อนเชื่อมต่อทุกครั้ง
วิธีการแก้ปัญหา : บางครั้งพอร์ทที่เราใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์นั้นมีอยู่หลายช่อง ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นพอร์ทเฉพาะ หากเราเสียบแฟลชไดร์ฟ แล้วพบว่าไม่ปรากฏไฟล์ขึ้นมา ให้ลองเสียบช่องอื่นดู เพราะบางครั้งสาเหตุที่แฟลชไดร์ฟไม่ทำงานอาจจะมาจากการที่เราเสียบพอร์ทผิดช่อง
วิธีการแก้ปัญหา : ในบางครั้งปัญหาก็อาจจะไม่ได้อยู่ที่แฟลชไดร์ฟของเรา แต่อาจจะเป็นเพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถอ่านไฟล์ของแฟลชไดร์ฟได้ เนื่องจากไฟล์ที่เราทำการบันทึกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งนั้น อาจจะเป็นคนละเวอร์ชั่นกับเครื่องที่เรากำลังเชื่อมต่ออยู่ จึงทำให้ไม่สามารถอ่านไฟล์ได้ วิธีแก้ไขคือ ลองไปเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นดู หากเปิดได้ เราก็ต้องมาแก้ปัญหาที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้น
วิธีการแก้ปัญหา : การดึงแฟลชไดร์ฟออกทันทีหลังจากใช้งานเสร็จ โดยการลืมปิดโปรแกรมที่ค้างไว้อยู่ หรือลืมกดให้แฟลชไดร์ฟยกเลิกการทำงานนั่นเอง เมื่อเราทำบ่อยครั้งจะทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ในที่สุด ดังนั้นเมื่อเราจะเลิกใช้งานแล้ว ให้เราทำการคลิกไอคอนรูป Flash Drive (สีเขียว) ที่ task bar ด้านล่าง แล้วเลือก Eject แค่นี้ปัญหานี้ก็จะไม่เกิดขึ้นอีก และยังช่วยต่ออายุการใช้งานของแฟลชไดร์ฟได้อีกด้วย
เมื่อเราจะทำการถ่ายโอนข้อมูลแล้วมีข้อความแจ้งเตือน “There is not enough disk space” เด้งขึ้นมานั้น เกิดจากระบบไฟล์หรือ File Format System ไม่สนับสนุน หรือพูดง่ายๆว่าไฟล์นั้นมีขนาดใหญ่เกินไปนั่นเอง เนื่องจาก File System ของแฟลชไดร์ฟโดยทั่วไปนั้นจะรองรับไฟล์อยู่ที่ 4GB หากเกินกว่านั้นจะ Error ทันที เราจึงต้องทำการแก้ไข File System วิธีการแก้ปัญหามีดังนี้
1.Click ขวาที่แฟลชไดร์ฟของเรา แล้วคลิกเลือก Format (วิธีนี้ต้องทำให้แฟลชไดร์ฟว่างเปล่า ดังนั้นหากแฟลชไดร์ฟของคุณมีข้อมูลอยู่ให้ Backup ข้อมูลไปไว้ที่อื่นก่อนชั่วคราว)
2.จากนั้นคลิกเลือกที่ File System type แล้วเลือกเป็น NTFS แล้วคลิก Start
3.จากนั้นจะมีข้อความเด้งขึ้นมาให้คลิกเลือก OK แค่นี้เราก็สามารถถ่ายโอนข้อมูลไฟล์ขนาดเกิน 4GB ได้แล้ว